Caenorhabditis elegans เป็นหนอนนีมาโทดาที่โปร่งใส มีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรC. elegans อาศัยอยู่ในดินในเขตอบอุ่น และเริ่มถูกใช้ในงานวิจัยทางด้านอณูชีววิทยาและชีววิทยาการเจริญ มาตั้งแต่ ปีค.ศ. 1974 โดย Sydney Brenner และก็ถูกใช้เป็นแบบจำลองสิ่งมีชีวิตเรื่อยมาตั้งแต่นั้น
C. elegans เป็นสิ่งมีชีวิตที่ unsegmented, vermiform, และ bilaterally symmetrical โดยมีผิวชั้นนอกปกคลุม เส้นหนังกำพร้าหลัก 4 เส้น และมีช่องที่เต็มไปด้วยของเหลว
สิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ C. elegans มีระบบอวัยวะต่างๆเหมือนกับสัตว์อื่นๆ ในธรรมชาติ C. elegans จะกินแบคทีเรียที่ทำให้ผักเน่าเป็นอาหาร C. elegans มี 2 เพศ: hermaphrodite และ ตัวผู้ โดยประชากรเกือบทั้งหมดจะเป็น hermaphrodite โดยจะมีตัวผู้อยู่ประมาณแค่ 0.05% โดยเฉลี่ย พื้นฐานทางสรีรวิทยาของ C. elegans จะมี ปาก, คอหอย, ลำไส้, ต่อมบ่งเพศ, และ ผิวนอกที่เป็นคอลลาเจน ตัวผู้จะมีต่อมบ่งเพศซีกเดี่ยว (single-lobed gonad), ท่อนำสเปิร์ม (vas deferens) และหางพิเศษสำหรับการผสมพันธุ์ Hermaphrodites มี 2 รังไข่, ท่อรังไข่, spermatheca, และมดลูกหนึ่งอัน Hermaphrodite จะออกลูกเป็นไข่ หลังจากไข่ฝักเป็นตัวแล้ว C. elegans จะเป็นตัวอ่อนโดยพัฒนาผ่าน 4 ระยะ (L1–L4) ถ้าเกิดภาวะอาหารขาดแคลนขึ้นขณะเป็นตัวอ่อน C. elegans สามารถพัฒนาเข้าสู่ระยะที่สามแบบพิเศษที่เรียกว่าสถานะ dauer โดยตัวอ่อนในสถานะ Dauer นี้จะมีความต้านทานต่อความเครียด(จากภาวะแวดล้อม)และจะไม่แก่ขึ้น Hermaphrodites จะผลิตสเปิร์มขึ้นมาในระยะที่ L4 (สเปิร์ม 150 ตัวต่อ gonadal arm) และจากนั้นจะเปลี่ยนไปสร้างเซลล์ไข่ (oocyte) แทน สเปิร์มจะถูกเก็บในต่อมบ่งเพศบริเวณเดียวกับเซลล์ไข่ จนกระทั่งเซลล์ไข่ดันสเปิร์มเข้าไปสู่ท่อรังไข่ ซึ่งเป็นเสมือนห้องที่เซลล์ไข่ถูกผสมโดยสเปิร์มC. elegans ตัวผู้สามารถที่จะผสมกับ hermaphrodite ได้ hermaphrodite สามารถใช้สเปิร์มจากทั้งที่ผลิตมาเองและได้จากตัวผู้ได้ สเปิร์มทั้งสองชนิดจะถูกเก็บอยู่ในท่อรังไข่เหมือนกัน โดยถ้าใช้สเปิร์มที่ผลิตเอง C. elegans ที่เป็น wide-type (หรือชนิดที่ไม่มีการกลายพันธุ์) จะวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ถ้าใช้สเปิร์มที่ได้รับจากตัวผู้ C. elegans สามารถจะวางไข่ได้มากกว่า 1,000 ฟอง ที่อุณหภูมิ 20 ?C, C. elegans สายพันธุ์ห้องทดลองจะมีอายุขัยโดยเฉลี่ยราวๆ 2–3 สัปดาห์ และมี generation time ประมาณ 4 วัน
C. elegans มี ออโตโซม 5 คู่ และ โครโมโซมเพศ 1 คู่ เพศของ C. elegans จะขึ้นกับ X0 sex-determination system Hermaphrodite C. elegans จะมีคู่ของโครโมโซมเพศ (XX) C. elegans ตัวผู้ที่เป็นส่วนน้อยของประชากรจะมี โครโมโซมเพศตัวเดียว (X0) สเปิร์มของ C. elegans จะคล้ายอะมีบา (ไม่มี flagella หรือ อะโครโซม)
Caenorhabditis สปีชีส์ต่างๆจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสารอาหารและแบคทีเรียที่หลากหลาย Caenorhabditis สปีชีส์ ไม่ได้สามารถเป็นประชากรแบบยั่งยืนได้ด้วยตนเองในดินเพราะว่ามันไม่มีสารอินทรีย์ที่เพียงพอ C. elegans สามารถอยู่ได้ด้วยการกินแบคทีเรียหลายๆชนิด (แต่ไม่ใช่ทุกชนิดของแบคทีเรีย) แต่เรื่องสภาพนิเวศตามธรรมชาติของ C. elegans มีอีกมากที่ยังไม่รู้
สารพันธุ์ส่วนใหญ่ที่ใช้ในห้องทดลองจะพบจากสภาพแวดล้อมที่ถูกมนุษย์ดัดแปลงแล้วเช่น ในสวน หรือกองปุ๋ยหมัก อย่างไรก็ตาม C. elegans สามารถพบได้ในสารอินทรีย์ที่กำลังเน่าโดยเฉพาะผลไม้ที่กำลังเน่า. ตัวอ่อนในสถานะ Dauer ของ C. elegans อาจถูกเคลื่อนย้ายได้โดยพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (เช่น กิ้งกือ, แมลง, ไร และ ทาก) และเมื่อ ตัวอ่อนในสถานะ Dauer เข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมมันก็จะเปลี่ยนสถานะออกจากสถานะ Dauer ได้ เช่นในห้องทดลองมันจะเปลี่ยนออกมากินพาหะไม่มีกระดูกสันหลังของมันที่ตายลง
สัตว์พวกนีมาโทดมีความสามารถในการทดกับสภาพแห้งแล้งจัด (desiccation) ได้ และ C. elegans ก็มีกลไกสำหรับความสามารถในการทดสภาพแห้งแล้งจัดนี้ด้วยโดยกลไกนั้นได้ถูกสาธิตว่าคือ Late Embryogenesis Abundant (LEA) proteins.
C. elegans ถูกใช้ศึกษาเป็น model organism จากหลายๆเหตุผลด้วยกัน มันเป็นยูแคริโอตหลายเซลล์ที่ง่ายพอที่จะใช้ศึกษาอย่างละเอียด สายพันธุ์ของ C. elegans ก็ราคาถูกในการผสมและขยายพันธุ์ และก็สามารถถูกแช่งแข็งได้ โดยเมื่อละลายแล้วมันก็ยังใช้งานได้อยู่ ทำให้การเก็บไว้ใช้งานระยาวทำได้ง่าย
นอกจากนั้น C. elegans ยังโปร่งใส ช่วยให้การศึกษาเกี่ยวกับ cellular differentiation และกระบวนการพัฒนาการอื่นๆ สามารถทำได้ง่าย การพัฒนาของ somatic cell ทุกๆเซลล์ (959 เซลล์ใน hermaphrodite ตัวเต็มวัย; 1031 เซลล์ใน ตัวผู้เต็มวัย) ได้ถูกศึกษาแล้วโดยละเอียด
และ C. elegans ก็ยังเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนน้อยที่สุดที่มีระบบประสาท hermaphrodite มีเซลล์ประสาท 302 เซลล์ whose pattern of connectivity, or "connectome", has been completely mapped and shown to be a small-world network. มีงานวิจัยที่ศึกษากลไกของระบบประสาทที่เกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆของ C. elegans เช่น chemotaxis, thermotaxis, mechanotransduction, และการจับคู่ของตัวผู้
คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งของ C. elegans ก็คือ มันค่อนข้างจะตรงไปตรงมาในการที่จะรบกวนการทำงานเฉพาะของแต่ละยีนส์โดย RNA interference (RNAi) การปิดการทำงานของยีนส์ในลักษณะนี้ช่วยให้นักวิจัยสามารถอนุมานหน้าที่ยีนส์แต่ละตัวได้
C. elegans ยังมีประโยชน์ในการศักษาเกี่ยวกับไมโอซิสอีกด้วย ระหว่างที่สเปิร์มและไข่เคลื่อนที่ลงตามความยาวของต่อมบ่งเพศ มันก็จะผ่านพัฒนาการตามระยะเวลาของกระบวนการไมโอซิส ซึ่งการตำแหน่งของนิวเคลียสในต่อมบ่งเพศก็สามารถใช้ประมาณกับระยะของกระบวนการไมโอซิสได้
C. elegans ก็ยังถูกใช้เป็นโมเดลสำหรับการติดนิโคตินได้ด้วย เพราะว่า C. elegans มีพฤติกรรมตอบสนองกับนิโคตินที่คล้ายกับพฤติกรรมที่สังเกตได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
C. elegans เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ชนิดแรกที่จีโนมของมันถูกถอดรหัสออกมาอย่างสมบูรณ์ รหัสพันธุ์กรรมของ C. elegans ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1998 โดยที่มีช่องว่างอยู่บ้าง; ช่องว่างสุดท้ายได้ถูกแก้ไขเสร็จสิ้นในเดือนตุลาคม ปีค.ศ. 2002 hermaphrodite ตัวเต็มวัยมี 959 somatic nuclei ความหนาแน่นของยีนคือประมาณ 1 gene/5kb โดยมี Intron อยู่ 26% ของจีโนม รหัสจีโนมของ C. elegans มีความยาวประมาณ 100 ล้าน base pair และบรรจุยีนส์ที่เก็บรหัสด้วยโปรตีนอยู่ประมาณ 20,100 ยีนส์ จำนวน RNA gene ของ C. elegans เชื่อว่ามีมากกว่า 16,000 RNA genes
จีโนมอย่างเป็นทางการของ C. elegans ถูกแก้ไขอยู่เรื่อยๆ เมื่อมีการค้นพบใหม่ๆหรือการพบข้อบกพร่องในการศึกษาก่อนหน้า เช่น the WS169 release ของ WormBase (ธันวาคม ค.ศ. 2006) รายงานการเพิ่ม base pair ขึ้นมา 6 base pairs เข้าไปจีโนม Occasionally more extensive changes are made, as in the WS159 release of May 2006, which added over 300 bp to the sequence.
ในปี ค.ศ. 2000 มีรายงานการศึกษาที่พบว่า ฟองน้ำทะเลมีกลุ่มของโปรตีนที่คล้ายกับของมนุษย์มากกว่าของ C. elegans. ซึ่งอาจบอกได้ว่า บรรพบุรุษของ C. elegans ได้มีอัตราการวิวัฒนาการที่รวดเร็ว ในรายงานยังระบุว่า C. elegans ไม่มียีนส์โบราณหลายชนิด
C. elegans ได้ตกเป็นข่าวเมื่อพบว่ามันสามารถรอดชีวิตได้จากโศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศโคลัมเบีย ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 ต่อจากนั้นเดือนมกราคม ค.ศ. 2009, C. elegans ถูกส่งไปอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติ 2 สัปดาห์เพื่อศึกษาถึงผลของสภาพไร้น้ำหนักต่อพัฒนาการของกล้ามเนื้อ โดยศึกษาจะเน้นเกี่ยวกับด้านพันธุ์กรรมของmuscle atrophy ซึ่งจะผลการศึกษาจะเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอวกาศ และรวมถึงคนที่นอนป่วย ผู้ป่วยสูงอายุ และ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน